วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฟ้าผ่า ข้อเท็จที่ควรรู้

รู้จักฟ้าผ่า

ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อย ประจุไฟฟ้าในอากาศ ฟ้าผ่าที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากเมฆฝนฟ้าคะนองหรือที่นักอุตุนิยมวิทยา เรียกว่า"เมฆคิวมูโลนิมบัส" (Cumulonimbus)

เมฆฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นก้อนเมฆใหญ่มหึมา บริเวณฐานเมฆ (ขอบล่าง) สูงจากพื้นราว 2 กิโลเมตร ส่วนยอดเมฆ (ขอบบน) อาจสูงได้ถึง 20 กิโลเมตร ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนนำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า

"ฟ้าผ่า" มีอย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่

1) ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ ฟ้าผ่าแบบนี้เกิดเกิดมากที่สุด และทำให้เมฆเปล่งแสงกระพริบที่คนไทยเราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" นั่นเอง

2) ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง

3) ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบลบ" (Negative Lightning) ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่อันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้น โดยจะผ่าลงบริเวณ "ใต้เงา" ของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก

4) ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบบวก" (Positive Lightning) สามารผ่าได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศรีษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่เราอาจถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปในระยะ 30 กิโลมตร อันเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ" ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นโดยเราไม่ได้คาดคิดนั่นเอง
ฟ้าผ่ากับผลกระทบต่อ "ชีวิตคน"
ข้อมูลจาก นพ.อดิศีกดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอกดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ผู้ถูกฟ้าผ่าประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่รอดจะมีความพิการถาวรจากการถูกทำลายระบบประสาท เช่น อัมพาต ตาบอด หูหนวก เป็นต้น
ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์ มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000 - 1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท
สถิติความสูญเสียจากฟ้าผ่าในประเทศไทย ข้อมูลจากการนำเสนอข่าวประเด็นฟ้าผ่าในสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 - มิถุนายน 2552 มีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 16 คน

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คณะทำงาน สบท.พิจิตรลงพื้นที่

วันที่ 21 มืถุนายน 2552 คณะทำงาน สบท.พิจิตรนำโดยคุณรุ่งเรือง กัลย์วงศ์และคุณสวัสดิ์ คำฟู ทีมกลไกภาคเหนือได้ลงพื้นที่ เปิดเวทีเตรียมความพร้อมสร้างความเข้าใจให้กับสื่อวิทยุชุมชน 5 สถานีในจังหวัดพิจิตร โดยใช้สถานที่ของสถานีวิทยุชุมชนคนวังหว้า มีผู้เข้าร่วมเป็นดีเจจากวิทยุชุมชนจากอำเภอสามง่าม อำเภอทับคล้อ อำเภอตะพานหิน อำเภอสากเหล็ก โดยได้ชี้แจงทำความเข้าใจถึงความเป็นมาของสบท.และการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อไป และได้ระดมความคิดกันทำแผนการทำงานของสถานีวิทยุชุมชนทั้ง 5 สถานีต่อไป

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การอบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจังหวัดพิจิตร



กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิภาคเหนือจัดอบรมพัฒนาศักยภาพทีมทำงาน

กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิภาคเหนือร่วมกับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงานและเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพิจิตร

วันที่ 5-6 มิถุนายน 2552 ที่ สมาคม วายเอ็มซีเอ จังหวัดเชียงราย เครือข่ายผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพิจิตร ประมาณ 40 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากเครือข่ายด้านสุขภาพ เกษตร วิทยุชุมชน เด็ก/เยาวชน ได้เข้ารับการอบรมเรื่องข้อมูลเบื้องต้นสิทธิผู้บริโภคด้านต่างๆ เช่น สิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญ สิทธิด้านสุขภาพ เป็นต้น และมีการฝึกปฏิบัติรับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งมีทีมวิทยากรจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาให้ข้อมูล
นายสวัสดิ์ คำฟู เจ้าหน้าที่กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิภาคเหนือ ได้กล่าวถึงความสำคัญในการจัดอบรมในครั้งนี้ว่า ต้องการให้คนทำงานในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นจังหวัดขยายได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้บริโภค ทักษะเบื้องต้นในการดำเนินการรับเรื่องร้องเรียน เช่น การรวบรวมข้อเท็จจริง การไกล่เกลี่ย เป็นต้นรวมทั้งเกิดแผนและกลไกการทำงานที่ชัดเจนในการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในจังหวัดเชียงรายและพิจิตรซึ่งจะเป็นจังหวัดหลักในปีต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาคประชาชนกับการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค



หลายคนอาจมีคำถามว่า...ทำไมภาคประชาชนต้องเข้ามาทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

ในเมื่อก็มีหน่วยงานภาครัฐก็ทำอยู่แล้ว...




นางรุจรี แสงแถลง เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า

"สิทธิผู้บริโภค คือ การที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริง ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายรวมทั้งมีสิทธิในการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกัน"

ด้าน นายรุ่งเรือง กัลย์วงศ์ ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดพิจิตร(ศบท.พิจิตร) กล่าวว่า

"ก่อนอื่นประชาชนต้องมีความเชื่อหรือแนวคิดที่ถูกต้องก่อนว่า เรื่องโทรคมนาคมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา รวมทั้งเราเองต้องเข้ามามีส่วนร่วม

ใกล้ตัวอย่างไร ถามว่ามีใครบ้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องโทรคมนาคมยกตัวอย่าง เช่น โทรศัพท์ ทุกคนต้องใช้แต่ไม่สามารถกำหนดราคาค่าโทรได้ซึ่งจริงๆค่าโทรอาจจะอยู่ที่นาทีละ 1 สตางค์ก็ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ผู้รับสัมปทานไม่เคยเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนรู้เลยว่าค่าโทรศัพท์ที่บริษัทต่างๆกำหนดมีต้นทุนอะไรบ้างรวมทั้งค่าโทรที่เหมาะสม ควรจะเป็นนาทีละเท่าไร และ ประชาชนทุกคนในฐานะเป็นผู้บริโภคมีส่วนได้เสียกับเรื่องโทรคมนาคมต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์c]tตอบสนองความต้องการของประชาชน"



อบรมการทำเว็ปไซด์ ณ เชียงใหม่


กลไกภาคเหนือ ได้มีการฝึกอบรมการสร้างเว็ปไซด์ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการใช้สถานที่ในการอบรมครั้งนี้ โดยมีตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย